วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ และการตัดสินใจ

ความหมายขององค์กร (Organization)

ความหมายขององค์กรเชิงเศรษฐศาสตร์ (microeconomic definition) 
องค์กร (organization) หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง  มีวัตถุประสงค์เพื่อนำทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการแปลงสภาพออกมาเป็นผลลัพธ์  จากความหมายนี้องค์กรจะมุ่งเน้นไปที่ส่วนประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ  (1) เงินทุนและแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมและเป็นปัจจัยนำเข้าผ่านกระบวนการแปรรูป  (2) องค์กรและกระบวนการแปรรูป จะทำหน้าที่การแปลงปัจจัยนำเข้าออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการ (3) ผลิตภัณฑ์หรือบริการจะถูกบริโภคโดยองค์ประกอบอื่นของสิ่งแวดล้อมและจะย้อนกลับมาเป็นปัจจัยนำเข้าสู่กระบวนการต่อไป
ความหมายขององค์กรเชิงพฤติกรรม (behavioral definition) 

จะให้ความหมายที่เข้าใจได้ง่ายกว่า กล่าวคือ องค์กร หมายถึงที่รวมของบุคลากรจำนวนมากเป็นส่วนประกอบซึ่งมีลำดับชั้นในการควบคุมและการบริหาร  มีสิทธิพื้นฐาน  สิทธิพิเศษ หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นของตนเอง  และทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน องค์กรที่เป็นทางการ (formal organization)  แสดงพฤติกรรมขององค์กรตามภาพที่ 2.1  กล่าวคือ พฤติกรรมขององค์กรที่เป็นทางการจะได้รับปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรมาจากสิ่งแวดล้อมขององค์กร ทำให้เกิดพฤติกรรมขององค์กรที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการซึ่งประกอบด้วยโครงสร้าง (structure) และกระบวนการทางธุรกิจ (business processes) โครงสร้างขององค์กรเป็นโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยลำดับขั้นตามสายการบังคับบัญชา การจัดแผนกงาน กฎ (rules) และวิธีการทำงาน(procedures) ส่วนกระบวนการทางธุรกิจมีการจัดตั้งโดยมีกฎหมายรองรับและมีพันธะที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ประกอบด้วยสิทธิ(right) พันธะผูกพัน (oligations) สิทธิส่วนบุคคลและความรับผิดชอบ (privileges and responsibility)  ค่านิยม (values)  บรรทัดฐาน (norms) และบุคลากร (people)  การดำเนินงานขององค์กรมีกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์เช่น สินค้าหรือบริการ  กลับไปสู่สภาพแวดล้อมขององค์กร

ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศ






ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ  โดยปกติแล้ว  TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ในระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง เช่น ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น  ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของสินค้าหรือบริการ (Product Differentiation) เช่น การที่ธนาคารไทยพาณิชย์เสนอการทำบัตรนักศึกษาควบกับบัตรเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine, ATM) หรือ การบริษัทโมเดลคอมพิวเตอร์ (Dell Computer) เปิดโอกาสให้ลูกค้าสั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองทางออนไลน์ โดยลูกค้าสามารถเลือกความสามารถของเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตามต้องการ

                โดยที่ MIS จะเน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง ตรรกะที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ TPS เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Production Control, Sales forecasts, financial analysis, และ human resource management เป็นต้น
                DSS  เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น
                 EIS  เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป

และระบบ TPS จะสนับสนุนการทำงานของ MIS  DSS  EIS  ES และ OAS ดังต่อไปนี้
1.การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5. การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหาร

Application of social Business

Social Network
Social Network (โซเชียล เน็ตเวิร์ค) คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าไว้ด้วยกันผ่านอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างของ Social Network ได้แก่ Facebook Twitter Hi5 Blogger เป็นต้น ซึ่งเปรียบเหมือนสังคมจำลองเสมือนจริงนั่นเอง และในปัจจุบันนอกจาก Social Network จะเป็นสังคมออนไลน์แล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดซึ่งเป็นที่นิยมอีกด้วย

Crowdsourcing
Crowdsourcing เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd + Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่ ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Online หรือในโลก Cyber นั่นเอง
User จะพยายามนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้บริษัทสามารถได้รับตัุวเลือกที่ดีที่สุด โดยปกติแล้วจะมีบริษัทที่เป็น Crowdsourcerรับทำหน้าที่นี้เพื่อกระจายปัญหาที่ต้องการคำตอบของลูกค้าไปยังกลุ่มคนที่ Crowdsourcerมีอยู่ในฐานข้อมูล โดยปกติแล้วกลุ่มคนหรือ User จะได้รับค่าตอบแทนจากการเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ ซึ่งค่าตอบแทนนั้นอาจเป็นเงิน หรือเป็นรางวัลบางอย่างที่เป็นสิ่งจูงใจทำให้เกิดการเข้าร่วมกิจกรรมนั่นเอง อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับเงินหรือรางวัลนั้นมักเป็น User ที่ได้รับเลือกว่านำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด

Blogs and wiki
บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวีดีโอ
ในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่า ไดอารี่ออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
วิกิ หรือ วิกี (wiki [ˈwɪ.kiːหรือ [ˈwiː.kiː]) คือลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพิเดีย
วิกิจะแตกต่างจากระบบการจัดการเนื้อหาอื่น ในส่วนของการโต้ตอบ ซึ่งเห็นได้จากระบบของกระดานสนทนาออนไลน์หรือบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อื่นโต้ตอบโดยการส่งข้อความต่อท้าย และไม่สามารถมีส่วนร่วมในส่วนของเนื้อหาหลักได้

Social Commerce
ในโลกของธุรกิจนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็คือ เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้คนสื่อสารกันได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดการเชื่อมต่อเป็นสังคมขนาดใหญ่ผ่านโลกออนไลน์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น กลายเป็น Social Networks ขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจากจุดนี้เอง จึงเกิดการค้าโดยใช้ระบบออนไลน์เป็นหลักเกิดขึ้น ซึ่งก็คือ E-Commerce นั่นเอง และจากการเติบโตของ Social Media ที่มาพร้อมกระแส Social network ทำให้ E-Commerce ได้เติบโตขึ้นไปด้วย จนทำให้ได้เกิดธุรกิจในสังคมออนไลน์ที่เรียกว่า Social Commerce ขึ้นมา Social Commerce คือ เครือข่ายสังคมค้าขายออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E-commerce โดยใช้ Social Networks เป็นตัวกระตุ้นตลาด ผ่านเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยให้ผู้บริโภค ได้รับการแนะนำจากผู้ที่เชื่อถือหรือบุคคลรอบข้างและสามารถหาสินค้าและบริการและซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านั้นได้สะดวก  ปัจจุบันขอบเขตของ Social Commerce มีการขยายตัว ทั้งการเป็นเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์และการใช้เนื้อหาในบริบทของ E- Commerce รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาข้อมูลใน Social Commerce เพื่อการค้าออนไลน์ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย สำหรัย รูปแบบของ Social Commerce สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
 1. Group Buying ตัวอย่างเช่น Groupon, Ensogo
 2. Facebook Social Plugin ตัวอย่างเช่น Levi เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ Plugin เพื่อเชื่อมต่อกับฐานสมาชิกของ Facebook
 3. Facebook Shop หรือที่หลายๆคนเรียกว่า Storefront เปิดร้านค้าบน Facebook
 4. Shopping recommendation/Discovery Service  สามารถช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการShopping ให้ดูน่าสนใจ มากขึ้นทั้งในเรื่องของการค้นหาและการแสดงความคิดเห็นต่างๆของเครือข่ายสังคม
 สำหรับเครื่องมือที่นิยมใช้ในการทำ Social Commerce มีดังต่อไปนี้
      1. Facebook pages เป็นช่องทางหลักที่นิยมใช้กัน เพราะ Facebook เป็นเว็บไซด์สังคมออนไลน์ที่มีสมาชิกมากที่สุดของโลก
      2. Facebook application เติบโตพร้อมจำนวนสมาชิกที่ใช้ Facebook ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบเกมส์ หรือกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลิน
      3. Twitter account เน้นการสื่อสารที่ต้องการใช้ความรวดเร็ว ใช้ข้อความสื่อสารที่สั้น ซึ่งสามารถส่งต่อกันไปอย่างรวดเร็ว
      4. Mobile application เกิดจากการรวมเครื่องมือต่างๆเข้าไปในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้เกิดความสะดวกในการพกพา จนเกิดความนิยมในการใช้งานขึ้น จึงเกิดการสร้าง application ต่างๆมากมาย เพื่อตอบสนองผู้ใช้และให้เกิดการระลึกถึงแบรนด์
      5.QR code และ check in  เป็นลูกเล่นแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในวงกว้างของคนรุ่นใหม่ ที่มักจะชอบแชร์สถานที่ที่ไปกับคนรู้จักและสแกน code ต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความสนุก เช่น Foursquare และ Gowallaเป็นต้น

File share
File share คืออะไร File share คือ Folder ที่ทำการการ Share อยู่บน Server ให้บุคคลกรในองค์กร Access เข้าไปถึงทรัพยากรที่อยู่ในภายใน Folder ที่ทำการ Share อยู่บน Server และเนื่องจากองค์กรมีบุคคลกรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน เราจึงต้องมีการกำหนด premissionsในการถึง File Share ที่แตกต่างกันซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
-Full Control คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน,และสุดท้ายคือการให้สิทธิ user ภายในองค์กรได้
-Change คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน ได้ แต่ไม่สามารถทำการให้สิทธิ ผู้อื่นภายในองค์กรได้
-Read คือสามารถทำการ อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถทำการ เขียนหรือทำการแก้ไขได้ ให้สิทธิผู้อื่นก็ไม่ได้
และส่วนสุดท้ายคือการเข้า file share ที่อยู่บน Server เราสามารถทำการ Access ได้ด้วย 2 วิธีด้วยกัน อันแรกคือ เราสามารถเขียน UNC path เพื่อ Access เข้าถึงตำแหน่งที่ข้อมูลทำการเก็บอยู่โดย \\Server01\  (Server01 คือ เครื่องที่เก็บ Folder ที่ทำการ Shareเอาไว้)

social marketing
Social Media Marketing (SMM) หมายถึงการทำการตลาดบนสื่อออนไลน์ เพราะนอกจากคนส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ง่ายแล้ว ยังพบสถิติการใช้ที่สูง เกือบจะตลอด 24 ชั่วโมงเลยด้วย ทำให้เกิดข้อดีของการทำ Social Media Marketing นั่นคือการเข้าถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจในตัวสินค้หรือบริการแบบตัวต่อตัวโดยที่เจ้าของกิจการสามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลผ่านทาง Social Media ได้เหมือนผู้ซื้อได้พูดคุยสอบถามข้อมูลกับเจ้าของร้านโดยตรง
โดยรวมแล้วหมายความว่า Social Media Marketing ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง เพื่อติดต่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ใช้ทั้งหลักการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขาย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียล โดยเจ้าของธุรกิจสามารถค้นหา วางแผนกิจกรรม เพื่อนำบริการเหล่านี้มาเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจของตัวเอง

Community
กลุ่มย่อยที่มีลักษณะหลายประการเหมือนกันลักษณะสังคม แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีความสนใจร่วมทีประสานงานในวง
แคบกว่า ชุมชน หมายถึง เขตพื้นที่ระดับของความคุ้นเคย และการติดต่อระหว่างบุคคล ตลอดจนพื้นฐานความยึดเหนี่ยว
เฉพาะบางอย่างที่ทำให้ชุมชนต่างไปจากกลุ่มเพื่อนบ้าน ชุมชนมีลักษณะเศรษฐกิจเป็นแบบเลี้ยงตัวเองทีจำกัดมากว่าสังคมแต่ภายในวงจำกัดเหล่านั้นย่อมมีการสังสรรค์ใกล้ชิดกว่า และความเห็นอกเห็นใจลึกซึ้งกว่า  อาจจะมีสิ่งเฉพาะบางประการที่



วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 1 บทนำ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (อังกฤษ: management information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าทาง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในทางวิชาการคำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนีถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ

กรณีศึกษา Starbucks

คําถามการศึกษากรณี 1. ปัญหาของ Starbucks คืออะไร เหตุใด Starbucks จึงเลือกแนวทางของเครือข่ายดิจิทัลและสังคมมาแก้ปัญหาของธุรกิจที่เกิ...