วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วัฒนธรรมองค์กร


วัฒนธรรมองค์การ หรือ วัฒนธรรมองค์กร คือ ค่านิยม แนวคิด แนวทางวิธีปฏิบัติ ขององค์กรนั้น ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปไม่มากก็น้อย 
โดยทั่วไป วัฒนธรรม คือ สิ่งที่เป็นรากฐานและจะเป็นตัวกำหนดทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ซึ่ง วัฒนธรรมองค์กร ก็เช่นกัน เพียงแต่วัฒนธรรมองค์กรจะมีขอบเขตที่เล็กลงมา คือ มีผลแค่ในองค์กรเท่านั้น
ส่วนมากวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) มักจะใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของประเทศที่บริษัทตั้งอยู่ ในกรณีที่เป็นบริษัทข้ามชาติก็จะมีวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะของวัฒนธรรมจากประเทศแม่
วัฒนธรรมองค์กร ที่เห็นได้บ่อยๆในไทย คือ วัฒนธรรมองค์กรแบบญี่ปุ่นที่มาพร้อมกับบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
วัฒนธรรมองค์กร มีผลยังไงบ้าง ?
อย่างวัฒนธรรมองค์กรของประเทศเอเชียแถวๆจีนญี่ปุ่น มักจะมีทัศนคติที่ต้องนั่งทำงานจนดึกดื่น ทั้งที่เลยเวลาเลิกงานไปแล้วก็ตาม ใครกลับก่อนก็จะถูกเพ่งเล็ง (ไปจนถึงถูกเอาไปนินทา)
ถึงเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เห็นจะ Make Sense ตรงไหน

แต่สิ่งนี้วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทนั้น โดยอาจจะมองว่าการทำงานจนเกินเวลาแสดงถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน และแสดงถึงความจงรักภักดีต่อองค์กร
กลับกันในหลายประเทศแถบตะวันตก จะมองกรณีนี้ว่า ไม่มีความรับผิดชอบ เพราะไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งนี่ก็จะเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบตะวันตก



คุณสมบัติผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำทีมงานไปสู่การปฏิบัติ แล้วกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรนั้น มี 3 คุณสมบัติหลัก คือ
1. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) : การเดินทางสู่เป้าหมาย ต้องมีแผนงานและวิธีการที่เฉียบคม มีความหลากหลายและยืดหยุ่นกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บางครั้งเป็นปัญหา อุปสรรคที่อาจไม่ได้คาดหวัง การคิดเชิงกลยุทธ์จะช่วยทำให้ก้าวข้าม ปัญหา อุปสรรค เหล่านั้นไปสู่เป้าหมายได้
2. ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) : การจูงใจให้ผู้อื่นเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องใช้การมีอิทธิพลด้านดี (Influence)ไม่ใช่การบังคับ (command) ต้องเป็นที่เชื่อถือ ยอมรับ และไว้วางใจ ของผู้อื่น ดังนั้น ภาวะความเป็นผู้นำ จึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะรณรงค์ให้ทีมงาน สร้างวัฒนธรรมขององค์กรได้พร้อมเพียงกัน
3. การสร้างการตระหนักรู้ด้วยตัวเอง (Coaching) : การโค้ช (Coaching) เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ผู้อื่นตระหนักรู้กับการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง มองเห็นประโยชน์ กับสิ่งที่จะปฏิบัติด้วยแนวทางที่เหมาะสมของตัวเอง ทำให้เต็มใจที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมตัวเอง เมื่อทุกคนทำพร้อมกัน ก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร
ในที่สุด

ผู้นำการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรณีศึกษา Starbucks

คําถามการศึกษากรณี 1. ปัญหาของ Starbucks คืออะไร เหตุใด Starbucks จึงเลือกแนวทางของเครือข่ายดิจิทัลและสังคมมาแก้ปัญหาของธุรกิจที่เกิ...