วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เหตุผลที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน, การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

1.ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร
การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัด, การทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
ซึ่งการใช้งานคอมพิวเตอร์ นั้นก็มีการใช้งานตามลักษณะงานต่างๆ เช่น ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ (สินค้า บุคคล สถิติ ฯลฯ) ใช้ในการจัดการเอกสารพิมพ์งาน ออกแบบสื่อต่างๆ , พัฒนาโปรแกรม, Internet , ค้นหาข้อมูล ,ฯลฯ
         ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน มีการพัฒนาและเข้ามามีบทบาทในการทำงาน ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน บริษัท ห้างร้าน ร้านค้า ต่างมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น และต้องยอมรับว่า แม้กระทั่งในบ้านเรือนที่พักอาศัยต่างๆ ก็มีการใช้งานคอมพิวเตอร์
         ฉะนั้น การเรียนคอมพิวเตอร์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพบเจอกับคอมพิวเตอร์ การประกอบอาชีพที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในอนาคต คอมพิวเตอร์จะกลายเป็นปัจจัย หนึ่งในการดำรงชีวิต

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
มี  5 องค์ประกอบสำคัญ  คือ
          1. ฮาร์ดแวร์  (Hardware)  หมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำงานประสารกันเพื่อให้เกิดการประมวลผล การจับเก็บ  และการเผยแพร่ข้อมูล/สารสนเทศ  บางครั้งเราจะเรียกฮาร์ดแวร์ว่า Device  ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์นั้นเอง  ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4ประเภท ได้แก่ อุปกรณ์  ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (Input Devices)  หน่วยประมวลผล  (Processors)  อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output  Devices)  และอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บความจำภายนอกหรือหน่วยความจำสำรอง  (Secondary  Storage  Devices)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
2. ซอฟต์แวร์และโปรแกรม (Software and Program)
          ซอฟต์แวร์ หมายถึงชุดคำสั่งที่ให้ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ทำงานรวมกันและช่วยจัดการข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเตรียมการให้ระบบสามารถรับคำสั่งให้ทำงานตามที่มนุษย์หรือผู้ใช้ต้องการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์  โดยทั่วไปมักจะหมายรวม System Software  หรือซอฟต์แวร์ระบบ  ซึ่งได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operation  System) และ Utilities เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์ต่างๆ นั้นเอง
          โปรแกรม  หมาย ถึงชุดคำสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการจัดเป็นโปรแกรมประยุกต์ หรือโปรแกรมเฉพาะงาน (application  Program) เช่น  โปรแกรมทำบัญชี โปรแกรมคิดเงินเดือน  โปรแกรมพยากรณ์อากาศ  โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมรวบรวมข้อมูล เป็นต้น
3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information)  ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงข้อมูลดิบที่มีจำนวนมาก  อาจอยู่ในรูปของตัวเลข  ตัวอักษร กราฟิก  เป็นข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบเพื่อใช่งานต่อไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์
           สารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้วเพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของผู้ใช้ ผลลัพธ์นี้เรียกว่า  สารสนเทศ (Information)  ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในระดับต่อไป เช่น เป็นการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม สังเคราะห์  ประเมิน รวมทั้งปรับปรุงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
4. บุคลากร (People Ware) เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม เป็นต้น เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของการใช้คอมพิวเตอร์ บุคลากรยิ่งมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์เท่าใดโอกาสที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
5.  กระบวนการทำงาน (Procedures) หมายถึง  กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำ  ได้แก่
              5.1  การประมวลผล (Processing)  เช่น  การคำนวณ  การเปรียบเทียบ  การจัดกลุ่ม  การเรียนลำดับ การปรับปรุงข้อมูล การสรุป การแสดงผล เป็นต้น
              5.2  การสร้างความน่าเชื่อถือ  (Reliability)  ซึ่งหมายรวมถึงการรักษาความปลอดภัยและความแม่นยำเที่ยงตรงในการทำงาน

              5.3  การพัฒนา  (Development)  หมายถึงการพัฒนาคำสั่งหรือโปรแกรมให้สั่งการระบบฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามที่ใช้ประสงค์ 

บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศ


โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรอบงานบูรณาการภายใต้เครือข่ายดิจิตอลทำงานอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์จัดการฐานข้อมูลและระบบการกำกับดูแลในเทคโนโลยีสารสนเทศและบนอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานเป็นฮาร์ดแวร์ทางกายภาพที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายตัวและผู้ใช้หลายคน โครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยสื่อการส่งผ่านรวมทั้งสายโทรศัพท์สายเคเบิลทีวีดาวเทียมและเสาอากาศ และยังมีเราท์เตอร์หลายตัวที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีการส่งผ่านทั้งหลายที่แตกต่างกันในการใช้งานบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานหมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ และไม่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางคน โครงสร้างพื้นฐานถูกมองว่าเป็นทุกอย่างที่สนับสนุนการไหลและการประมวลผลของข้อมูลบริษัทโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต พวกเขามีอิทธิพลว่าที่ไหนบ้างต้องมีการเชื่อมโยงที่ไหนบ้างที่ข้อมูลจะต้องถูกทำให้สามารถเข้าถึงได้ และ จำนวนข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้และทำได้รวดเร็วได้อย่างไร


สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Environment of Business)    
ธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม จึงไม่สามารถดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจจะต้องตระหนักถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งสภาพแวดล้อมของธุรกิจอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.  สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (internal environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ภายในองค์กร ซึ่งองค์กรสามารถควบคุมได้ (controlable) ได้แก่ คน เครื่องจักรอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ เงินทุน ความรู้ ระบบต่าง ๆ
2.  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (external environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกองค์กรซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ (uncontrolable) แต่เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1  สิ่งแวดล้อมการดำเนินงาน (operating environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่กระทบโดยตรงต่อธุรกิจ และถูกกระทบโดยตรงจากธุรกิจ ได้แก่ รัฐบาล ชุมชน ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ คู่แข่ง ลูกค้า สหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ และสมาคมการค้า
2.2  สิ่งแวดล้อมทั่วไป (general environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีขอบเขตกว้าง แต่จะไม่กระทบโดยตรงต่อบริษัทแต่จะกระทบต่อธุรกิจผ่านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน และจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของธุรกิจ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมการเมือง และเทคโนโลยี
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ SWOT (SWOT Analysis)
เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่ศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

     1. S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด 

     2. W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหา

     3. O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

     4. T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ tows matrix คือ
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

     1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก
     2) ST ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
     3) WO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
     4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ



วัฒนธรรมองค์กร


วัฒนธรรมองค์การ หรือ วัฒนธรรมองค์กร คือ ค่านิยม แนวคิด แนวทางวิธีปฏิบัติ ขององค์กรนั้น ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปไม่มากก็น้อย 
โดยทั่วไป วัฒนธรรม คือ สิ่งที่เป็นรากฐานและจะเป็นตัวกำหนดทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ซึ่ง วัฒนธรรมองค์กร ก็เช่นกัน เพียงแต่วัฒนธรรมองค์กรจะมีขอบเขตที่เล็กลงมา คือ มีผลแค่ในองค์กรเท่านั้น
ส่วนมากวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) มักจะใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของประเทศที่บริษัทตั้งอยู่ ในกรณีที่เป็นบริษัทข้ามชาติก็จะมีวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะของวัฒนธรรมจากประเทศแม่
วัฒนธรรมองค์กร ที่เห็นได้บ่อยๆในไทย คือ วัฒนธรรมองค์กรแบบญี่ปุ่นที่มาพร้อมกับบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
วัฒนธรรมองค์กร มีผลยังไงบ้าง ?
อย่างวัฒนธรรมองค์กรของประเทศเอเชียแถวๆจีนญี่ปุ่น มักจะมีทัศนคติที่ต้องนั่งทำงานจนดึกดื่น ทั้งที่เลยเวลาเลิกงานไปแล้วก็ตาม ใครกลับก่อนก็จะถูกเพ่งเล็ง (ไปจนถึงถูกเอาไปนินทา)
ถึงเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เห็นจะ Make Sense ตรงไหน

แต่สิ่งนี้วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทนั้น โดยอาจจะมองว่าการทำงานจนเกินเวลาแสดงถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน และแสดงถึงความจงรักภักดีต่อองค์กร
กลับกันในหลายประเทศแถบตะวันตก จะมองกรณีนี้ว่า ไม่มีความรับผิดชอบ เพราะไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งนี่ก็จะเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบตะวันตก



คุณสมบัติผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำทีมงานไปสู่การปฏิบัติ แล้วกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรนั้น มี 3 คุณสมบัติหลัก คือ
1. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) : การเดินทางสู่เป้าหมาย ต้องมีแผนงานและวิธีการที่เฉียบคม มีความหลากหลายและยืดหยุ่นกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บางครั้งเป็นปัญหา อุปสรรคที่อาจไม่ได้คาดหวัง การคิดเชิงกลยุทธ์จะช่วยทำให้ก้าวข้าม ปัญหา อุปสรรค เหล่านั้นไปสู่เป้าหมายได้
2. ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) : การจูงใจให้ผู้อื่นเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องใช้การมีอิทธิพลด้านดี (Influence)ไม่ใช่การบังคับ (command) ต้องเป็นที่เชื่อถือ ยอมรับ และไว้วางใจ ของผู้อื่น ดังนั้น ภาวะความเป็นผู้นำ จึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะรณรงค์ให้ทีมงาน สร้างวัฒนธรรมขององค์กรได้พร้อมเพียงกัน
3. การสร้างการตระหนักรู้ด้วยตัวเอง (Coaching) : การโค้ช (Coaching) เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ผู้อื่นตระหนักรู้กับการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง มองเห็นประโยชน์ กับสิ่งที่จะปฏิบัติด้วยแนวทางที่เหมาะสมของตัวเอง ทำให้เต็มใจที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมตัวเอง เมื่อทุกคนทำพร้อมกัน ก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร
ในที่สุด

ผู้นำการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

คุณสมบัติที่ดีขององค์กรเป็นอย่างไร


1. เป้าหมายขององค์กรชัดเจน(Clear organization goals)
          คนในองค์กรจำเป็นต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงขององค์กรที่เราทำงานอยู่ให้ชัดแจ้ง โปร่งใส ไม่มีวาระซ่อนเร้น และต้องแสดงให้เห็นตลอดเวลา ทั้งคำพูดและการกระทำ ทั้งนี้ ถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงเป้าหมายก็ต้องแจ้งให้บุคลกรทุกระดับให้เข้าใจ ไม่ใช่แจ้งเพื่อให้ทราบ
2. สายงานบังคับบัญชาสั้น พร้อมงานบังคับบัญชาที่หลากหลาย (Flat organization with increased span of supervision)
          พนักงานทุกระดับชั้นจะต้องพัฒนาความสามารถของตนเองให้สูงขึ้น และต้องรับผิดชอบในองค์กรนั้น ๆ พร้อมทั้งลดสายงานการบังคับบัญชา และขั้นตอนการทำงาน อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชาต้องทำงานอย่างเต็มที่ และมุ่งมั่นกับงานที่ทำอยู่ตลอดเวลา
3. มีฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารงาน (Data-based self management system)
          ต้องมีระบบในการจัดการการทำงานด้วยความเชื่อมั่น และสามารถตัดสินใจด้วยตนเองให้ถูกต้องในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องมีประวัติเก่าที่สามารถใช้ค้นหาข้อมูลได้ เพราะเราจะต้องใช้เป็นข้ออ้างอิงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้ง ต้องมีการนำเอาอุปกรณ์สมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ ส่วนตัวฐานข้อมูลควรจะต้องเป็นข้อมูลปัจจุบัน
4. มีระบบการจัดการที่ดี ด้วยคนที่ไม่มาก (Good management system with small management staff)
          ต้องมีระบบการจัดการทำงานที่มีระบบ โดยใช้คนจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ องค์กรที่ดีต้องมีการเตรียมงานอย่างดี ไม่มีการสับสน วุ่นวายในการทำงานทำงาน ทุกคนต่างรู้หน้าที่ของตนเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ระบบกรรมการจนเกินขอบเขต หรือการทำงานทุกอย่างจะต้องมีตัวชี้วัดอยู่ตลอดเวลา
5. ที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นถูกต้องเสมอ
          เป็นเรื่องที่เราจะต้องยอมรับว่า สัตว์ใหญ่ย่อมกินสัตว์เล็กซึ่งผู้มีอำนาจย่อมจะถูกเสมอ ดังนั้น ทางที่ดีเราไม่ควรสร้างความขัดแย้งกับหัวหน้าของเรา ซึ่งในกลุ่มของผู้บริหารระดับสูงนั้นจะเชื่อหัวหน้าเรา มากกว่าเรา เพราะหัวหน้าใกล้กับเราย่อมจะรู้จักเรามากกว่าระดับบริหาร และหัวหน้าเราสร้างกำไรให้บริษัทมากกว่าเรา
6. เน้นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ (Emphasis on improved operation reliability)
          องค์กรที่ดีจะต้องเน้นหนักในเรื่องการปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ความเชื่อถือและถูกต้องที่สุด ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย และคำพูดนั้นก็ต้องเกิดประโยชน์ต่อองค์กร โดยให้ข้อคิดกับคนรุ่นหลังอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องทำงานด้วยความตั้งใจจริง และคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กรและส่วนรวม
7. มีการตลาดและประชาสัมพันธ์ (Marketing and advertising)
          การตลาดและการประชาสัมพันธ์จะต้องมีหน่วยงานดูแลชัดเจน ทั้งนี้บุคคลในองค์กรทุกระดับก็ควรช่วยแนะนำให้ลูกค้า หรือผู้ที่ใช้บริการทุกคนทราบถึงเรื่องราวต่าง ๆ ขององค์กร อีกทั้ง ต้องมีการแนะนำอย่างมีข้อมูลและถูกต้อง มีการชักชวนให้ซื้อสินค้า หรือบริการอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่ควรพูดถึงองค์กรในด้านลบ
8. ร่วมมือ ร่วมใจ และทำงานเป็นทีม (More collaboration and teamwork)
          ลองเพิ่มบทบาทของการทำงานร่วมกันให้มากขึ้น พร้อมทั้งประสานในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่องค์กรมีด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เราอยากให้คุณนึกอยู่ในใจเสมอว่า องค์กรเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดทุกสิ่งกับตัวเรา ลองสร้างทัศนคติกับตัวเองและผู้ร่วมงานอยู่เสมอ ทั้งนี้ การทำงานเป็นทีม ก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
9. เน้นมูลค่าในการทำงานในแต่ละตำแหน่ง แล่ดำเนินตามนโยบายอย่างแน่วแน่ (Emphasis upon value added aspects of each position or policy)
          องค์กรที่ดีต้องปฏิบัติตามนโยบายเป็นหลัก มีการกำกับ ตรวจสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ควรใช้การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลพร้อมทั้งมีการให้ค่าตอบแทนอย่างยุติธรรม
10. เพื่อองค์กร (For my organization)
          ถ้าเราต้องการเห็นองค์กรของเราเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องเสียสละเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกทั้ง การทำงานก็ต้องไม่เอาเปรียบองค์กร มีการเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับองค์กรอยู่ตลอดเวลา

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรณีศึกษา Starbucks

คําถามการศึกษากรณี 1. ปัญหาของ Starbucks คืออะไร เหตุใด Starbucks จึงเลือกแนวทางของเครือข่ายดิจิทัลและสังคมมาแก้ปัญหาของธุรกิจที่เกิ...